รถติดไฟแดง ควรใช้เกียร์อะไร รถออโต้เมื่อต้องจอดรถติดไฟแดงควรเข้าเกียร์ว่างหรือไม่ เวลารถติดใช้เกียร์อะไรเหมาะสมมากที่สุด แนะนำจอดติดไฟแดงเข้าเกียร์อะไรดี?
สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในปัจจุบันแล้วต้องขับขี่ผ่านทางร่วม-ทางแยกต่างย่อมมีการติดตั้งสัญญาณจราจรเพื่อบอกให้รถหยุดนิ่งชั่วคราวเพื่อรอให้รถที่สวนเลนมาไปก่อนเรียกว่าสัญญาณไฟแดงซึ่งผู้ขับขี่จะต้องพบเจอกับสัญญาณไฟจราจรอยู่โดยตลอดที่มีการใช้งานรถจักรยานยนต์ หรือ รถยนต์และยานพาหนะชนิดอื่น ในรถยนต์ทั้งรูปแบบรถเกียร์กระปุก และเกียร์อัตโนมัติมักมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าจอดติดไฟแดงเข้าเกียร์อะไรดี? และติดไฟแดง เข้าเกียร์ยังไง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามที่ผู้ขับขี่มักให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ขับขี่ที่มีความเชื่อกันว่าเมื่อรถจอดติดไฟแดงจะต้องเหยียบเบรคค้างไว้และเมื่อเห็นสัญญาณไฟสีเขียวก็สามารถที่จะออกตัวไปได้ทันที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องมากที่สุด แต่ผู้ขับขี่อีกส่วนหนึ่งก็มีความคิดที่ว่าในขณะที่รถจอดติดไฟแดงควรเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแน่ง N แล้วรอสัญญาณไฟเขียวจึงออกตัวซึ่งการกระทำในทั้ง 2 รูปแบบ ถือเป็นวิธีการที่แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามการจอดรถติดไฟแดง ควรใช้เกียร์อะไร Khaorodnissan ได้นำวิธีการใช้งานระบบเกียร์ที่เหมาะสมมากที่สุดในระหว่างที่รถติดไฟแดงมาให้ทุกท่านได้รับชม
ทำความรู้จักกับระบบเกียร์รถยนต์
นับเป็นเป็นปัญหาที่ผู้ใช้รถหลายรายคาใจกับคำถามที่ว่า “รถติดไฟแดง ควรเข้าเกียร์อะไร” เพื่อให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมในการขับขี่และเครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้สำหรับในรถยนต์ทั้งรูปแบบเกียร์ธรรมดาและเกียร์กระปุกมีการติดตั้งตำแหน่งเกียร์ว่างเอาไว้เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถที่จะปรับระดับเกียร์ให้มาอยู่ในตำแน่งเกียร์ว่างได้ทั้ง 2 รูปแบบ และช่วยลดการทำงานของระบบคลัชที่ทำหน้าที่รับและส่งกำลังระหว่างระบบเกียร์และเครื่องยนต์นั่นเอง ทั้งนี้รถยนต์ในปัจจุบันมาพร้อมระบบเกียร์ที่มีให้เลือกใช้งานหลักๆแล้ว 3 รูปแบบ ได้แก่ ระบบเกียร์ธรรมดา , ระบบเกียร์อัตโนมัติ และระบบเกียร์อัตโนมัติแบบคลัชคู่ DTC ที่มีการติดตั้งเข้ามาในรถยนต์รุ่นใหม่ยุคปัจจุบัน โดยระบบส่งกำลังในทั้ง 3 รูปแบบมีความแตกต่างกันดังนี้
อ่านเพิ่มเติม: มาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ที่ควรมีในปัจจุบัน
1.ระบบเกียร์ธรรมดา MT หรือ ระบบเกียร์กระปุก ที่ต้องใช้มือในการผลักเปลี่ยนระดับเกียร์พร้อมกับเหยียบคลัชควบคู่กันไปด้วยจึงสามารถเปลี่ยนระดับเกียร์ได้ อย่างไรก็ตามหลักการทำงานของระบบเกียร์ธรรมดามีชุดคลัชเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในการตัดและส่งกำลังระหว่างเครื่องยนต์และระบบเกียร์ โดยการเปลี่ยนเกียร์ในแต่ละครั้งผู้ขับขี่จะต้องทำการเร่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับระบบเกียร์จึงสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ และต้องทำการเหยียบคลัชก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการเปลี่ยนระดับเกียร์และปล่อยคลัชเมื่อเปลี่ยนเกียร์เสร็จสิ้น ทั้งนี้ภายในระบบส่งกำลังแบบเกียร์กระปุกจะได้รับการติดตั้งชุดเฟืองที่มีอัตราการทดเกียร์ที่แตกต่างกันตั้งแต่ระบบเกียร์ 1-5 หรือ เกียร์ 1-6 และเกียร์ถอย ขึ้นอยู่กับรถในแต่ละรุ่นว่าจะได้รับการติดตั้งมาในรูปแบบใด

ระบบเกียร์ธรรมดา MT
2.ระบบเกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ออโต้ ที่ผู้ขับขี่ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถขับรถได้โดยไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนอัตราการทดเกียร์ด้วยตนเอง เนื่องจากระบบเกียร์อัตโนมัติสามารถที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่เรื่องเครื่องยนต์ได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์เหมือนดังเช่นในรถเกียร์กระปุก และไม่ต้องรอรอบเครื่องยนต์เพื่อเหยียบคลัชและเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติจะมีทอร์คคอนเวอร์เตอร์เข้ามาทำหน้าที่แทนคลัชในการส่งกำลังจากระบบเกียร์เข้าไปสู่เครื่องยนต์และตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อผ่อนคันเร่ง ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนเกียร์ในแต่ละครั้งจะมีอัตราการทดเกียร์ตามชุดเฟืองที่มีการควบคุมด้วยสมองกลอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถส่งผ่านกำลังได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยระบบเกียร์อัตโนมัติมีตำแหน่งเกียร์ที่แตกต่างกันดังนี้
- P / Parking รถจอดสนิท
- N / เกียร์ว่าง
- D / Drive รถขับเคลื่อน
- R / ถอยหลัง
- L / ใช้สำหรับขึ้นลง-ลงทางลาดชัน , L2 ใช้สำหรับขึ้นลงที่มีความลาดชันมาก

ระบบเกียร์
3.ระบบเกียร์อัตโนมัติแบบคลัชคู่ DCT สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติแบบคลัชคู่ถือเป็นระบบเกียร์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งในรูปแบบเกียร์อัตโนมัติ และแป้นเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัยแบบ Paddle Shift โดยที่ผู้ขับขี่สามารถที่จะเลือกปรับระดับอัตราการทดเกียร์ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ระบบเกียร์อัตโนมัติแบบคลัชคู่จะมีหลักการทำงานของระบบเกียร์ที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีการติดตั้งคลัชจำนวน 2 ตัวและทำงานแตกต่างกัน โดยคลัชตัวที่ 1 จะทำการควบคุมอัตราการทดเกียร์เลขคี่ และคลัชตัวที่ 2 จะทำการควบคุมอัตราการทดเกียร์เลขคู่

ระบบเกียร์อัตโนมัติแบบคลัชคู่ DCT
รถติดไฟแดง ควรใช้เกียร์อะไร
สำหรับการจอดรถติดไฟแดง และ เวลารถติดใช้เกียร์อะไร ผู้ขับขี่สามารถที่จะเลือกใช้งานระบบเกียร์ได้ตามความถนัดของในแต่ละบุคคลทั้งการเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ N (เกียร์ว่าง) และใช้เกียร์ D (Drive) ซึ่งตำแหน่งนี้รถพร้อมที่จะออกตัวและผู้ขับขี่ควรเหยียบเบรกค้างเอาไว้ อย่างไรก็ตามการเลือกตำแหน่งเกียร์มีความแตกต่างกันดังนี้
รถติดใช้เกียร์ N
- สำหรับการใช้เกียร์ N หรือเกียร์อยู่ในตำแหน่งว่างในระหว่างรถติดไฟแดงนับเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ผู้ขับขี่หลายรายเลือกใช้งานเนื่องจากการเข้าเกียร์ในตำแหน่ง N ช่วงรถติดไฟแดงแล้วดึงเบรกมือค้างเอาไว้จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถที่จะผ่อนคลายอิริยาบถในท่าทางอื่นได้โดยที่ไม่ต้องกลัวว่ารถจะไหลไปข้างหน้าเพราะมีเบรกมือคอยดึงล็อครถเอาไว้ชั่วคราว และการเลือกเกียร์มาในตำแหน่ง N ยังช่วยตัดการส่งน้ำมันไปสู่ระบบคลัชลงอย่างอัตโนมัติถือเป็นการประหยัดน้ำมันอีกวิธีหนึ่ง เมื่อเห็นสัญญาณไฟเขียวก็สามารถปลดเบรกมือพร้อมกับเข้าเกียร์ในตำแหน่ง D และขับขี่ออกไปตามปกติได้
รถติดใช้เกียร์ D
- ในระหว่างที่รถจอดติดไฟแดงผู้ใช้รถหลายรายมีความนิยมใช้งานตำแหน่งเกียร์ D Drive หมายถึงรถพร้อมสำหรับการออกตัว เนื่องจากตำแหน่งเกียร์ D ใช้สำหรับการให้รถขับเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อผู้ขับขี่เลือกใช้งานตำแหน่งเกียร์ D ในระหว่างที่รถติดไฟแดงควรเหยียบเบรกควบคู่กันไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่ออกไปชนท้ายรถคันหน้านั่นเอง
รถติดใช้เกียร์ P
- สำหรับผู้ขับขี่บางรายอาจมการเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ P-Parking เมื่อรถจอดติดไฟแดงซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากตำแหน่งเกียร์ P จะต้องใช้งานเมื่อรถมีการจอดแบบนิ่งสนิทเท่านั้น เพราะตำแหน่งเกียร์ P ถูกออกแบบมาให้ล็อคการทำงานของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติและรถไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ต้องจอดนิ่งสนิทเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากผู้ขับขี่เลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ P ในขณะที่รถจอดติดไฟแดงอาจต้องระวังต่อการเฉี่ยวชนจากรถคันหลังในระหว่างการออกตัวเมื่อมีสัญญาณไฟเขียว กอปรกับการเลื่นตำแหน่งเกียร์ P เพื่อมาตำแหน่งเกียร์ D จะต้องผ่านตำแหน่งเกียร์ R (เกียร์ถอยหลัง) ก่อนซึ่งอาจทำให้รถเสียการควบคุมถอยหลังไปชนกับรถคันที่ติดไฟแดงอยู่ด้านหลังจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ทั้งนี้ผู้ขับขี่ควรประเมินด้วยตนเองว่าในขณะที่จอดรถติดไฟแดงนั้นควรที่จะเลือกใช้เกียร์ชนิดใดโดยเฉพาะการขับขี่รถอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีการจราจรแออัดรถเคลื่อนตัวได้ช้าสลับกับหยุดนิ่ง หากผู้ขับขี่เลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ N แล้วดึงเบรคมืออาจทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการเคลื่อนรถไปด้านหน้าจนส่งผลให้อาจเกิดอุบัติเกตุได้ เพราะฉะนั้นจึงควรใช้เกียร์ D และเหยียบเบรคค้างเอาไว้ให้รถพร้อมสำหรับการเคลื่อนตัวจะถือเป็นการดีที่สุด ส่วนในกรณีที่มีการจราจรแออัดและสลับกับนิ่งสนิทเป็นระยะเวลานานผู้ขับขี่ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้เกียร์ที่ตำแหน่ง N แล้วดึงเบรคมือค้างเอาไว้ได้เช่นกันเพื่อให้รถหยุดนิ่งสนิทได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังถือเป็นการผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าด้วยอิริยาบถอื่นอีกด้วย
เลือกใช้ระบบ idling Stop System เมื่อรถติด
สำหรับระบบ idling Stop System ที่มีการติดตั้งมากับรถยนต์หลายรุ่นในปัจจุบันถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยหยุดการทำงานของเครื่องยนต์แต่ระบบการทำงานในส่วนอื่นของรถยังคงทำงานอยู่ซึ่งในแต่ละค่ายรถยนต์ก็มีการตั้งชื่อเรียกระบบดังกล่าวที่แตกต่างกัน เช่น Auto Start Stop ใน BMW , ECO Start/Stop จาก Mercedes-Benz และ i-stop ที่ติดตั้งใน Mazda เหล่านี้ล้วนได้รับการติดตั้งระบบช่วยหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ในรูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อประหยัดพลังงานแทบทั้งสิ้นและเหมาะสำหรับการใช้งานในขณะที่รถติดไฟแดง หรือ รถติดเป็นระยะเวลานาน

เลือกใช้ระบบ idling Stop System เมื่อรถติด
โดยหลักการทำงานของระบบ idling Stop System จะเริ่มขั้นตอนเมื่อรถจอดนิ่งสนิทเป็นระยะเวลานาน หรือ ตามการตั้งค่าที่ได้รับออกแบบมาซึ่งจะไม่ต่ำกว่า 3 วินาที ระบบ idling Stop System จะหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ลงอย่างอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันการทำงานของระบบอำนวยความสะดวกภายในรถ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าต่างๆรวมไปถึงพัดลมแอร์ยังคงทำงานอยู่ และจะทำการติดเครื่องยนต์ให้อย่างอัตโนมัติเช่นกันเมื่อผู้ขับขี่ปล่อยเท้าออกจากเบรก หรือ ขยับพวงมาลัย ซึ่งการติดตั้งระบบดังกล่าวไว้ในรถนอกเหนือจากที่จะช่วยในการประหยัดพลังงานเครื่องยนต์แล้วยังช่วยลดการปล่อยมลพิษในอากาศจากท่อไอเสียในขณะที่รถติดอีกด้วย
สำหรับผู้ที่มีความสนใจเคล็ดลับในการใช้รถ จอดติดไฟแดงเข้าเกียร์อะไรดี? รถติดไฟแดง ควรใช้เกียร์อะไร ติดไฟแดง เข้าเกียร์ยังไง สามารถค้นหาข้อมูลเวลารถติดใช้เกียร์อะไรดีที่สุดได้ที่ Khaorodnissan.com