เปลี่ยนน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ เรื่องที่คุณต้องใส่ใจ และไม่อาจมองข้ามไปได้ ตามปกติการเปลี่ยนน้ำมันเพาเวอร์จะมีระยะเวลาอยู่ประมาณ 50,000 กิโลเมตร ก็ควรเปลี่ยนถ่ายสักครั้ง เพื่อให้ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ยังคงประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยมนั้นเอง
ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์คืออะไร ?
เชื่อว่าบางคนอาจไม่ทราบว่ารถยนต์ในท้องตลาดปัจจุบันมีการติดตั้งระบบพวงมาลัยพาวเวอร์เป็นเรื่องปกติ แต่หากย้อนไปช่วงก่อน 30 ปีที่แล้ว ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มถ้าต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ในอดีตถ้าคุณซื้อ Toyota Mighty X มาใช้งาน หากเป็นรุ่นถูกแล้วจะไม่มีระบบนี้ติดตั้งมาให้จากโรงงานนั้นเอง

ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
พวงมาลัยพาวเวอร์คือ ระบบที่เข้ามาช่วยผ่อนแรงของผู้ขับขี่เวลาหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางต่าง ๆ นั้นเอง โดยเฉพาะการหักเลี้ยวพวงมาลัยในพื้นที่แคบ ๆ จะช่วยได้เยอะมาก หากรถยนต์ไม่มีระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แล้วล่ะก็ แรงเสียดทานที่วงล้อหน้าจะส่งผ่านมาที่พวงมาลัยรถยนต์แบบเต็ม ๆ หากใครเคยขับรถยนต์ที่ไม่พวงมาลัยพาวเวอร์น่าจะทราบกันเป็นอย่างดี
ในปัจจุบันระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) โดยหลักการทำงานจะเป็นการใช้ปั๊มไฮดรอลิกสร้างกำลังส่งไปกระปุกพวงมาลัยหรือแร็กพวงมาลัย ซึ่งตัวของปั๊มไฮดรอลิกจะทำงานจากแรงของเครื่องยนต์ส่งผ่านมายังสายพานนั้นเอง และจะมีน้ำมันเพาเวอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแรงดันไปที่แร๊กพวงมาลัย ทำให้พวงมาลัยไม่หนักนั้นเอง
ทั้งนี้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกถือว่าเป็นกลไกที่ไม่ซับซ้อนใด ๆ และไม่มีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทำให้รถยนต์รุ่นเก่า ๆ ที่ไม่ได้ติดตั้งระบบพวงมาลัยพาวเวอร์มาจากโรงงาน สามารถไปหาซื้อชุดพวงมาลัยพาวเวอร์ติดตั้งตามอู่ทั่วไปแบบง่าย ๆ และมีราคาประมาณหมื่นต้น ๆ เพียงเท่านั้น
ข้อดีของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก
– ไม่มีความซับซ้อนของระบบ ดูแลรักษาง่าย
– ไม่มีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง จะลุยน้ำลุยไฟก็ไม่ต้องกลัวอะไร
– พวงมาลัยมีความแม่นยำสูง สร้างความมั่นใจในยามเข้าโค้ง
– ราคาซ่อมบำรุงถูก
ข้อเสียของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก
– เมื่อถึงเวลาเสื่อมสภาพเหล่าซีล และท่อทางอาจมีการชำรุดจนเป็นสาเหตุให้น้ำมันพาวเวอร์รั่วซึม หยดพื้นที่จอดรถ
– มีข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับรถยนต์ที่ใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก ไม่ควรหักพวงมาลัยจนสุดและค้างทิ้งไว้ เนื่องจากปั๊มไฮดรอลิกได้ส่งน้ำมันเพาเวอร์มีความร้อนและแรงดันที่สูงไปตามท่อยาง เมื่อหักพวงมาลัยจนสุด น้ำมันเพาเวอร์จะไม่สามารถไหลไปไหนได้ แต่ตัวปั๊มไฮดรอลิกยังคงทำงานอยู่ ซึ่งจะทำให้ระบบของพวงมาลัยพาวเวอร์เกิดความเสียหายได้นั้นเอง
ตามปกติของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ตามระยะที่คู่มือรถยนต์ได้กำหนด ซึ่งสามารถเปลี่ยนถ่ายได้ตามศูนย์บริการรถยนต์แบรนด์ต่าง ๆ ตลอดจนอู่ซ่อมช่วงล่างรถยนต์ทั่วไปก็ว่าได้ ส่วนคำถามที่ว่าเปลี่ยนน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ ราคาเท่าไหร่นั้น บอกได้เลยว่าไม่ถึง 1,000 บาท อย่างแน่นอน

ชุดพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก
- ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ว่าได้ ซึ่งจะถูกติดตั้งในรถยนต์นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยระบบจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลังช่วยผ่อนแรงในการเลี้ยวพวงมาลัย ซึ่งพวงมาลัยจะมีเซนเซอร์ที่ไว้ตรวจจับก่อนส่งให้กล่องควบคุมสั่งการให้มอเตอร์ทำงานนั้นเอง

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า
ข้อดีของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า
– หากเป็นความเร็วต่ำ พวงมาลัยจะให้ความรู้สึกที่เบา แต่เมื่อความเร็วสูงสมองควบคุมจะมีการปรับเปลี่ยนให้พวงมาลัยมีน้ำหนักมากขึ้น เรียกได้ว่ามีกล่องสมองควบคุมให้พวงมาลัยปรับไปตามการขับขี่ก็ว่าได้
– ไม่มีปัญหารั่วซึมเหมือนกับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก เนื่องจากใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวให้กำลังนั้นเอง
– การทำงานของพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า ไม่เป็นภาระของเครื่องยนต์แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ได้ใช้แรงจากเครื่องยนต์นั้นเอง
ข้อเสียของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า
– ระยะฟรีและความแม่นยำของพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า ไม่สามารถสู้กับพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกได้
– ระบบไฟฟ้ามีการซ่อมบำรุงที่แพงกว่าพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก
สุดท้ายนี้สามารถทำความเข้าใจเรื่องพวงมาลัยพาวเวอร์แบบง่าย ๆ ก็คือ หากเป็นพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ตามคู่มือ และหมั่นตรวจสอบหาจุดรั่วของน้ำมัน แต่ถ้าเป็นพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้าจะไม่ต้องทำสิ่งแล้วนี้ เมื่อเวลาเสียขึ้นมาให้จับสังเกตพวงมาลัยว่ามีน้ำหนักที่ผิดปกติไปจากเดิมนั้นเอง
อายุแบตเตอรี่รถยนต์ เรื่องง่าย ๆ ที่คนมีรถต้องรู้
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://khaorodnissan.com/