ถือว่าเป็นเรื่องของคนชอบแต่งรถยนต์จำเป็นต้องรู้ก็ว่าได้ กับกฎหมาย เกี่ยว กับ การ ดัดแปลง สภาพ รถที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพจดทะเบียนก็ว่าได้ ตามปกติเมื่อคุณนำรถ ดัดแปลงมาใช้งานจำเป็นจะต้องแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถกับสำนักงานขนส่งทางบกก่อนเท่านั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจเช็กความถูกต้องต่าง ๆ นั้นเอง
คำว่ารถ ดัดแปลง ถือว่าเป็นที่อะไรที่มีความหมายกว้างพอสมควร เนื่องจากไม่มีคำนิยามใด ๆ ว่าส่วนไหนไม่ผิดกฎหมาย หรือส่วนไหนผิดกฎหมาย ปัญหานี้เองได้เป็นเหตุทำให้คุณอาจโดนข้อหา ดัดแปลง สภาพ รถได้อย่างไม่รู้ตัว

คำว่ารถ ดัดแปลง ถือว่าเป็นที่อะไรที่มีความหมายกว้างพอสมควร
อย่างแรกที่คุณต้องเข้าใจในเรื่องรถ ดัดแปลงก็คือ รถยนต์สภาพเดิม ๆ ตามที่ได้จดทะเบียนนั้น จะเป็นสภาพโรงงานซึ่งทุกอย่างมีการออกแบบให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดนั้นเอง ไม่ว่าจะความสูง – ต่ำ ของตัวถังรถ ความสว่างของแสงไฟหน้า / หลัง ตลอดจนสีของหลอดไฟเลี้ยวเป็นต้น หากรถ ดัดแปลงได้ปรับเปลี่ยนสิ่งใดไปจากเดิมเท่ากับผิดกฎหมายนั้นเอง
เมื่อพูดถึงข้อหา ดัดแปลง สภาพ รถที่คุณจะต้องโดน หากไม่ยอมแจ้งข้อมูลกับสำนักงานขนส่งตามกฎหมายแล้วล่ะก็ ทั้งนี้ยังมีข้อยกเว้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เดียวกับการดัดแปลงรถยนต์ อาทิเช่น การเปลี่ยนล้อแม็ก การปรับเปลี่ยนชุดเบรกรถยนต์ใหม่ การเปลี่ยนโช้คอัพหน้า/หลัง การเปลี่ยนกระจกมองข้าง สิ่งเหล่านี้บอกได้ว่าเป็นการการดัดแปลงสภาพรถเพื่อความสวยงามหรือแต่งสวย ไม่มีความผิดแต่อย่างใด
ในทางการกลับกันรถ ดัดแปลงที่จำเป็นต้องแจ้งทางสำนักงานขนส่งทางบก เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นไปตามกฎหมายกำหนดรึไม่ ซึ่งเรียกได้ว่ามีมากมายพอสมควร
เนื้อหา
เปลี่ยนสีรถยนต์ใหม่
หากคุณเปลี่ยนสีรถยนต์ใหม่ที่สีสันแตกต่างไปจากเดิมแล้ว จำเป็นต้องแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถ เนื่องจากต้องมีการบันทึกลงเล่มทะเบียนรถยนต์ถึงสีสันปัจจุบันคือสีอะไรนั้นเอง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสีใหม่แค่ฝากระโปรงรถ ประตูรถ หรือส่วนใดของรถยนต์ก็ตามแต่นั้นเอง

จำเป็นต้องแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถ เนื่องจากต้องมีการบันทึกลงเล่มทะเบียนรถยนต์ถึงสีสันปัจจุบันคือสีอะไรนั้นเอง
เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่
หากคุณเปลี่ยนเครื่องยนต์รถใหม่ จำเป็นต้องไปแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถเหมือนกัน เนื่องจากจะมีการบันทึกลงเล่มทะเบียนของรถยนต์คุณใหม่ ว่าเครื่องยนต์ใหม่คืออะไร รหัสเครื่องอะไรนั้นเอง หากคุณไม่ยอมไปแจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้ว จะมีความวุ่นวายอย่างมากเวลาที่คุณจะขายรถยนต์ทิ้ง เนื่องจากข้อมูลในเล่มกับเลขเครื่องไม่ตรงกันนั้นเอง
ยกสูง / โหลดเตี้ย
ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบก็ว่าได้ ตามปกติแล้วถ้าคุณนำรถยนต์ไปยกสูง หรือ โหลดเตี้ยก็ตามแต่ จำเป็นต้องไปแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถ ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงว่าเป็นไปตามมาตรฐานรึไม่ ซึ่งตามปกติหากรถยนต์คุณยกสูงขึ้นเล็กน้อย หรือโหลดเตี้ยเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะไม่โดนข้อหา ดัดแปลง สภาพ รถสักเท่าไหร่
ใส่คอก / ตู้ทึบ
สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่รถยนต์ใช้งานทั่วไปก็ว่าได้ สำหรับการใส่คอกเพื่อการบรรทุกหนัก ตลอดจนการใส่ตู้ทึบ ซึ่งจะเป็นต้องแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงในการใช้งาน การยื่นยาวของอุปกรณ์ที่ใส่เสริมเข้ามาว่าถูกต้องตามที่ควรจะเป็นรึไม่นั้นเอง
เสริมแหนบ / เปลี่ยนเพลาบรรทุก
จัดว่าเป็นรถ ดัดแปลงเช่นกันสำหรับรถกระบะสายบรรทุก ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยการเสริมแหนบ และเปลี่ยนเพลาบรรทุกนั้น จะทำให้รถยนต์สามารถบรรทุกหนักได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จนเป็นสาเหตุที่ว่าต้องแจ้ง ดัดแปลง สภาพ รถนั้นเอง

เสริมแหนบ / เปลี่ยนเพลาบรรทุก
กฎหมาย ดัดแปลง สภาพ รถ (พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ )
มาตรา ๑๒ รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ ให้นาย ทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น
เจ้าของรถมีสิทธิ์อุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งของ นายทะเบียน คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
มาตรา ๑๔ รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในเวลาใช้ ให้เจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้การตรวจสภาพดังกล่าวนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถ ไปให้ตรวจสภาพ ณ สถาน ตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกก็ได้ และให้นำมาตรา ๑๒ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย
มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองพันบาท
อ่านเพิ่มเติม:
อาการเบรคติดเกิดจากอะไร พร้อมวิธี แก้ เบรค ติด
สาเหตุที่น้ำเข้ารถยนต์ พร้อมการแก้ไข
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://khaorodnissan.com/