ระบบแอร์รถยนต์ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าแอร์รถยนต์จะไม่มีผลต่อการขับขี่ แต่หากรถไม่มีแอร์แล้วล่ะก็ ความร้อนจากเครื่องยนต์ที่ส่งผ่านเข้ามาในห้องโดยสาร อาจส่งผลให้ผู้ขับขี่รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวก็ว่าได้ เนื่องจากอากาศร้อนนั้นเอง
แอร์รถยนต์เริ่มใช้งานในปี ค.ศ. 1993 โดยได้นำเอาระบบปรับอากาศมาใช้กับรถยนต์นั้นเอง ซึ่งเป็นผลงานของทางบริษัท Packard ซึ่งแอร์รถยนต์ในยุคแรกเป็นแบบแอร์ที่ติดตั้งเพิ่มตามที่หลัง หรือเรียกกันติดปากในบ้านเราว่า “แอร์แขวน” สำหรับในเมืองไทย รถยนต์ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2530 หากเป็นรถยนต์รุ่นถูก ๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีแอร์แถมมาให้ ต้องไปติดตั้งเพิ่มที่หลัง จนความต้องการของตลาดรถยนต์ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้รถยนต์ที่ขายในไทยทุกคันจำเป็นต้องติดตั้งแอร์มาให้จากโรงงานเลยก็ว่าได้ พูดง่าย ๆ ได้ว่า หากโรงงานผู้ผลิตไม่ติดแอร์มาให้แล้วล่ะก็ รถยนต์รุ่นนั้นไม่น่าจะขายได้อย่างแน่นอน
อ่านเพิ่มเติม
ไม่รู้ว่าคุณเคยได้ยินประโยคนี้ไหม หากจะใช้งานรถยนต์ก็ขอเพียงสตาร์ทเครื่องติด และเบรกอยู่ก็เพียงพอแล้ว แต่หากต้องการความสะดวกสบายในการขับขี่ ก็เพียงแค่ว่า “แอร์เย็น เพลงเพราะ” ซึ่งว่ากันตามตรง แอร์รถยนต์ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าหากแอร์เสียไม่เย็นขึ้นมา เชื่อว่าไม่มีจะทนร้อนไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน
สำหรับวงจรระบบแอร์รถยนต์ จะประกอบไปด้วย
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
- คอนเด็นเซอร์ (Condenser)
- รีซีพเวอร์ดรายเออร์ (Receiver Drier)
- เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
- อีวาโพเรเตอร์ (Evarporator)
- ท่อทางสารทำความเย็น แบ่งออกมาเป็น
– ท่อทางดูด SUCTION LINE (สายใหญ่) ต่ออยู่ระหว่างทางดูดของคอมเพรสเซอร์กับทางออกอีวาโพเรเตอร์
– ท่อทางอัด DISCHARGE LINE(สายกลาง) ต่ออยู่ระหว่างทางอัดของคอมเพรสเซอร์กับทางเข้าคอนเด็นเซอร์
– ท่อน้ำยาเหลว LIQUID LINE ต่ออยู่ระหว่างทางออกคอนเด็นเซอร์เข้าทางเข้ารีซีพเวอร์ดรายเออร์ และทางออกรีซีพเวอร์ครายเออร์เข้าทางเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว

สำหรับวงจรระบบแอร์รถยนต์ จะประกอบไปด้วย
สำหรับการทํางานระบบแอร์รถยนต์
- คอยล์เย็น หรือ อีวาโปเรเตอร์ เมื่อสารทำความเย็นถูกส่งเข้ามาในคอยล์เย็น ซึ่งในขณะนั้นสารทำความเย็นมีสถานะเป็นของเหลว โดยการแลกเปลี่ยนถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นตรงนี้ พัดลมจะดูดเอาอากาศร้อนภายในห้องโดยสารรถยนต์มาโดนคอยล์เย็น
- คอมเพรสเซอร์ จะมีหน้าที่ทำความเย็น โดยจะเพิ่มความดันให้กับสารที่ทำความเย็นให้กลายเป็นไอ ซึ่งคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นไอความดันต่ำจากเครื่องระเหย (Evaporator) เข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดไอของสารทำความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนที่จะส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condensor) ต่อไป
- คอยล์ร้อน (Condensor) เป็นอุปกรณ์ภายในระบบทำความเย็น มีหน้าที่ เปลี่ยนสถานะน้ำยาในสภาวะไอที่มีอุณหภูมิและความดันสูงให้กลั่นตัวเป็นของเหลว ซึ่งรถยนต์แทบทั้งหมดจะใช้อากาศระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์
- ถังพักสารทำความเย็น (Receiver-Drier) มีหน้าที่เก็บสารทำความเย็นเพื่อที่จะส่งต่อไปให้วาล์วแอร์ฉีดสารทำความเย็น เข้าสู่อีแวปปอเรเตอร์ โดยถังพักสารทำความเย็นยังมีหน้าที่ดูดซับความชื้นในสารทำความเย็น และกรองสิ่งเจือปนต่าง ๆ อีกด้วย
- วาล์วลดความร้อน (Expansion Valve) เรียกว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำความเย็นก็ว่าได้ โดยวาล์วมีหน้าที่เพื่อช่วยทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง ซึ่งจะปรับลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง ส่งผลให้สารทำความเย็นพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ

สำหรับการทํางานระบบแอร์รถยนต์
ทั้งนี้สามารถอธิบายขั้นตอนทำความเย็นได้อย่างง่าย ๆ ดังนี้
– สารทำความเย็น จากของเหลวเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซ โดยสารทำความเย็นจะร้อนขึ้นจากอากาศในห้องโดยสาร (คอยล์เย็น)
– ควบแน่น ขั้นตอนที่ทำให้มีความดันสูง เพื่อเตรียมทำให้สารทำความเย็นเป็นของเหลว (คอมเพรสเซอร์)
– สารทำความเย็น จากก๊าซกลายเป็นของเหลว เมื่อความร้อนในสารทำความเย็นหายไปกลายเป็นของเหลว (คอยล์ร้อน)
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของน้ำยาแอร์อีกด้วย โดยรถยนต์สามารถแบ่งน้ำยาแอร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ น้ำยาแอร์สำหรับรถยนต์รุ่นเก่า ๆ (R12) ส่วนถ้าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ นับง่าย ๆ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2000 ขึ้นมา ส่วนใหญ่จะใช้น้ำยาแอร์ (R134a) เกือบทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของช่างแอร์ที่จะต้องรู้เสียมากกว่า
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://khaorodnissan.com/