เครื่องยนต์ดีเซล ถือว่าเป็นหนึ่งในประเภทเครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยมีจุดกำเนิดในปี ค.ศ. 1897 โดย รูด็อล์ฟ ดีเซิล (Rudolf Diesel) ซึ่งเป็นวิศวกรชาวเยอรมนี สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นการนำกลจักร คาร์โนต์ (Carnot’s cycle) มาพัฒนาต่อยอดนั้นเอง ทั้งนี้เครื่องกลจักร คาร์โนต์ ถูกคิดขึ้นจากชาวฝรั่งเศสนามว่า ซาร์ดิ คาร์โน (Sardi carnot)
สัญลักษณ์หน้าปัดรถสำคัญที่คุณต้องรู้
เนื้อหา
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อดีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- เครื่องยนต์สามารถทนความร้อนได้สูง และมีอัตราสิ้นเปลืองที่ประหยัดกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
- เครื่องยนต์ดีเซลมีความทนทาน อึด ถึก ทน มากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
- เครื่องยนต์มอบภาระกำลังแรงบิดที่สูงในรอบเครื่องที่ต่ำ เมื่อรอบเครื่องต่ำการสึกหรอของเครื่องยนต์ก็น้อย
- สำหรับในไทย น้ำมันดีเซลมีราคาที่ถูกกว่า ทำให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกกว่าอีกด้วย
ข้อเสียของเครื่องยนต์ดีเซล มีดังต่อไปนี้
- เครื่องยนต์มีกำลังอัดที่สูงในการเผาไหม้ในห้องเครื่องสูงกว่า 2 เท่า หากไปเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน
- วัสดุที่ทำเครื่องยนต์จะต้องมีความต้านแรงกดดันสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทำให้วัสดุในการสร้างเครื่องยนต์มีราคาที่สูงกว่านั้นเอง ตลอดจนมีน้ำหนักเครื่องยนต์ที่มากกว่าเบนซิน
- รถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซลจะมีราคาที่สูงกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินเป็นปกติ (* ยกเว้นรถกระบะที่ได้รับการยกเว้นภาษีต่าง ๆ มากมายจนทำให้รถมีราคาที่ถูกนั้นเอง แต่หากเป็นรถเก๋ง รถนั่งธรรมดาแล้ว รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจะมีราคาที่สูงกว่าพอสมควร)
- ค่าบำรุงรักษาสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลมีความซับซ้อนในเรื่องเทคโนโลยีมากพอสมควร
- ปล่อยมลพิษไอเสียมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศแถบยุโรปมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลภายในระยะไม่กี่ปีที่จะถึงนี้
เครื่องยนต์ดีเซลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
– เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ
– เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ
ปัจจุบันความนิยมของเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นแบบ 4 จังหวะเป็นหลัก ซึ่งรูปแบบของวงจรเครื่องยนต์ 4 จังหวะก็คือ
จังหวะการทำงาน 1 จังหวะ ก็คือการเคลื่อนที่ของลูกสูบจากตำแหน่งบนสุด (top dead center) จนถึงตำแหน่งล่างสุด (bottom dead center) หรือจากตำแหน่งล่างสุด จนถึงตำแหน่งบนสุด 2 จังหวะการทำงานจะเท่ากับ 1 รอบการหมุนของข้อเหวี่ยงหรือของ เครื่องยนต์ วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะเป็นไปตามรูป คือ ดูด อัด ระเบิด คาย
ทั้งนี้วงจรระบบสตาร์ท เครื่องยนต์ ดีเซลจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ เมื่ออากาศถูกอัดตัวจะมีความร้อนที่สูงขึ้น แต่ถ้าอากาศถูกอัดตัวอย่างเร็วเกินไปโดยไม่มีการลดอุณหภูมิของความร้อน สิ่งนี้จะทำให้แรงดันและความร้อนจะสูงขึ้นไปอีกอย่างรวดเร็ว เมื่อเครื่องยนต์ได้ทำการฉีดละอองเชื้อเพลิงเข้าไปในอากาศที่ร้อนจัดจากการที่อัดตัวในห้องเผาไหม้ จะทำให้เกิดการระเบิด เผาไหม้ขึ้นอย่างทันที และทำให้แรงผลักขึ้น แรงผลักหรือกำลังที่เกิดขึ้นจะนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของ แรงผลักไปยัง ลูกสูบ(Piston) และก้านสูบ (Connecting rod) ดังนั้นเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) ทำให้เกิดการหมุ่น และทำงานผ่านจุดต่าง ๆ ส่งผ่าน คลัช (Clutch) ไปยัง ระบบส่งกำลัง (Transmission) ทำให้เกิดการหมุ่นและควบคุมรอบผ่านเฟืองเกียร์ต่าง ๆ ลงสู่เพลาขับ ไปยังล้อ ทั้งหมดนี้เป็นกลไกการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลนั้นเอง
สุดท้ายนี้เครื่องยนต์ดีเซลในท้องตลาดเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่จะถูกใช้อยู่กับรถกระบะเป็นหลัก ตลอดจนรถประเภท SUV บ้างรุ่น ส่วนรถเก๋งที่เป็นเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่ถูกที่สุดก็คือ Mazda 2 โดยเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ขับหน้าอีกด้วย
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorodnissan.com/