โช๊คอัพ (Shock Absorber) ถือเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางก็ว่าได้ โดยโช้คอัพจะทำหน้าที่ดูดรับแรงกระแทกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่รถยนต์ของคุณกำลังเคลื่อนตัวไปบนผิวถนนลักษณะต่าง ๆ อาทิเช่น ทางขรุขระ หลุมบ่อต่าง ๆ คอสะพาน ตลอดจนเส้นทางทุรกันดาร ซึ่งตัวโช้คอัพจะดูดรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นให้ส่งไปที่ห้องโดยสารให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้นเอง
หากรถยนต์ไม่มีระบบโช้ค อั พ รถยนต์แล้ว ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนก็ลดลงไปด้วย โดยโช้คอัพจะช่วยเป็นตัวช่วยหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของตัวรถยนต์ และยังช่วยควบคุมการเต้นของล้อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ล้อของรถยนต์สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ในขณะที่รถแล่นอยู่ตลอดเวลานั้นเอง
ถ้าคิดภาพไม่ออกแล้วว่ารถยนต์ไม่มีโช้คอัพจะเป็นอย่างไรแล้วล่ะก็ ให้คุณคิดถึงรถจักรยานราคาถูก ๆ ทั่วไปในท้องตลาด ที่ไม่มีระบบกันสะเทือนใด ๆ เลยที่ค่อยซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น ลองคิดภาพตามว่าคุณปั่นจักรยานผ่านผิวถนนที่ขรุขระหรือหลุมบ่อต่าง ๆ บนท้องถถนนด้วยความเร็วประมาณ 15 – 20 กม./ชม. เพียงเท่านั้น คุณจะรับรู้ถึงแรงกระแทกที่เกิดขึ้นที่วงล้อส่งผ่านมาถึงตัวคุณแบบไม่มีอะไรมาผ่อนเบาก็ว่าได้นั้นเอง

โช้ค อั พ รถยนต์
ปัจจุบันในท้องตลาดจะมีโช้ค อั พ รถยนต์ให้เลือกอยู่ 2 ระบบ ได้แก่
- โช๊คอัพน้ำมัน
- โช๊คอัพแก๊ส
เนื้อหา
โช๊คอัพน้ำมัน (ส่วน โช๊ ค อั พ)
ถือว่าเป็นโช้คอัพยอดนิยมก็ว่าได้ สำหรับโช้คอัพน้ำมัน (ระบบน้ำมันไฮดรอลิค) โดยภายในกระบอกโช้คอัพจะมีการบรรจุตัวของน้ำมันไฮดรอลิคไว้ และการ ทํา งาน ของ โช๊ ค อั พจะอาศัยแรงดันของลูกสูบ อัดให้น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่านรูเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกสูบ ซึ่งรูเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคนั้นเอง ในเวลาที่รถได้รับแรงกระเทือนบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะยืด และหดตัวตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อ เท่ากับว่าน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็ก ๆ ภายในลูกสูบจึงมีหน้าที่หน่วงเหนี่ยว การดีดตัวอย่างรวดเร็วของสปริง หรือแหนบของรถยนต์นั้นเอง
วิธีการดูผ้าเบรครถยนต์ พร้อมป้องกันอาการรถเบรกแตก
ปัญหา คอมแอร์รถยนต์ไม่ทํางานและแอร์รถยนต์ไม่ทํางาน
โช้คอัพแก๊ส (ส่วนโช๊คอัพ)
เรียกได้ว่าเป็นการอัพเกรดประสิทธิภาพจากโช้คอัพน้ำมันขึ้นอีกระดับก็ว่าได้ สำหรับโช้คอัพแก๊สที่ได้มีการออกแบบให้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแก๊สไนโตรเจน และน้ำมันไฮดรอลิคนั้นเอง โดยน้ำมันไฮดรอลิคที่อยู่ในกระบอกสูบ ไหลผ่านวาล์วขึ้นไปยังห้องน้ำมันด้านบน ส่วนน้ำมันอีกจำนวนหนึ่งจะไหลผ่านวาลว์ด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง หลังจากนั้นจะทำการอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน เพื่อดันน้ำมันไฮโดรลิคกลับเข้าสู่กระบอกลูกสูบ
ทั้งนี้สามารถแบ่งโช้คอัพแก๊สออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

โช้คอัพแก๊ส
- โช๊คอัพแก๊สแรงดันต่ำ (LOW-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER) มีการอัดแรงดันไว้ประมาณ 10 – 15 กก./ตาราง ซม. หรือ 142 – 213 ปอนด์/ตารางนิ้ว
- โช๊คอัพแก๊สแรงดันสูง (HI-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER) โดยโช้คอัพประเภทนี้จะไม่มีห้องน้ำมันสำรอง แต่มีการออกแบบให้เก็บน้ำมันไฮดรอลิคไว้ด้านบนของกระบอกสูบ และจะอัดแก๊สไนโตรเจนที่ด้านล่างของกระบอกสูบ โดยจะมีแรงดันอยู่ที่ 20-30 กก./ตาราง ซม. หรือประมาณ 284-427 ปอนด์/ตารางนิ้ว
อย่างไรก็ตามโช้คอัพรถยนต์จะมีอายุการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นอะไหล่สิ้นเปลืองนั้นเอง โดยคุณสามารถจับสังเกตอาการเสียของโช้คอัพได้แบบง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ก้มตัวมองไปดูโช้คอัพที่อยู่ใต้ท้องรถว่าอยู่ในสภาพที่ดีไหม มีคราบน้ำมันไหลออกจากตัวโช้คอัพไหมเป็นต้น

ส่วนประกอบของโช๊คอัพ
ในส่วนของการขับขี่คุณก็สามารถจับอาการความผิดปกติของโช้คอัพได้เหมือนกัน โดยคุณจะรับรู้ถึงแรงกระแทกต่าง ๆ จากที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรียกได้ว่ารถยนต์จะมีอาการที่ผิดแปลกไปจากเดิมเล็กน้อยนั้นเอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ว่า คุณควรเปลี่ยนโช้คอัพใหม่ได้แล้วนั้นเอง
คำแนะนำเพิ่มเติมเวลาคุณจะเปลี่ยนโช้คอัพใหม่ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงให้เปลี่ยนใหม่ทั้งคู่หน้าและหลัง เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของโช้คอัพแสดงออกมาได้เต็มที่สุดนั้นเอง แต่หากคุณเปลี่ยนเฉพาะคู่ที่เสียเพียงท่านั้น โช้คอัพใหม่ที่เพิ่งติดตั้งลงไป จะทำงานร่วมกับโคอัพเก่าที่มีความเสื่อมจากการใช้งานมาแล้วระยะเวลาหนึ่งนั้นเอง
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://khaorodnissan.com/