ไฟเครื่องโชว์ เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของเครื่องยนต์ก็ว่าได้ เมื่อไฟเครื่องโชว์ขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องนำรถไปตรวจเช็กหาความผิดปกติของเครื่องยนต์ในเร็วที่สุด ถ้ายังฝืนใช้งานต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจแล้วล่ะก็ เมื่อถึงจังหวะที่เครื่องยนต์ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว อาจต้องจ่ายเงินที่แพงกว่าเดิมเป็นอย่างมากก็ว่าได้
สัญลักษณ์หน้าปัดรถสำคัญที่คุณต้องรู้
ทั้งนี้รถยนต์ทุกคันจะมีการติดตั้งระบบไฟแจ้งเตือนเครื่องยนต์ให้ทราบที่หน้าปัดรถ โดยก่อนที่คุณจะบิดกุญแจสตาร์ทรถจะสามารถเห็นระบบไฟเตือนต่าง ๆ ขึ้นโชว์ที่หน้าปัดเรือนไมล์ และเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วไฟโชว์ต่าง ๆ ต้องดับหายไปหมด ซึ่งหากไฟโชว์ยังไม่ดับแล้วล่ะก็ อุปกรณ์ชิ้นนั้นกำลังมีปัญหาอย่างแน่นอน
เมื่อไฟโชว์เครื่องแล้ว เตรียมใจได้เลยว่าคุณจะต้องพบอาการผิดปกติต่าง ๆ จากเครื่องยนต์แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติด เครื่องเดินเบาสั่น เครื่องเร่งไม่ขึ้น ตลอดจนมีเสียงแปลก ๆ ดังมาจากเครื่องยนต์ก็ว่าได้
ทั้งนี้เมื่อไฟเครื่องโชว์ จะสามารถเช็กอาการผิดปกติของเครื่องยนต์ได้ดังต่อไปนี้
เนื้อหา
- 1 1. ปิดฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงไม่แน่น (ไฟ รูป เครื่อง โชว์ ปัญหา)
- 2 2. แคทาไลติคคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic converter) ไฟเครื่องโชว์ เร่งไม่ขึ้น
- 3 3. เซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสีย (O2 sensor) ไฟโชว์เครื่อง
- 4 4. คอยล์จุดระเบิดและหัวเทียน (Ignition Coil and Spark Plug) ไฟเครื่องโชว์ สตาร์ทไม่ติด
- 5 5. หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Injector) ไฟเครื่องโชว์ เร่งไม่ขึ้น
- 6 6. เทอร์โมสตัท (Thermostat) ไฟเครื่องโชว์
1. ปิดฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงไม่แน่น (ไฟ รูป เครื่อง โชว์ ปัญหา)
เรียกได้ว่าอาจเกิดจากความผิดพลาดของคนเติมน้ำมันที่ปิดฝาถังน้ำมันไม่แน่น ตลอดจนการเสื่อมสภาพของฝาถังก็ว่าได้ เมื่อฝาน้ำมันปิดไม่แน่นจะทำให้แรงดันภายในถังน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ปกติ จนขึ้นไฟโชว์ที่หน้าปัดเรือนไมล์ ขอแนะนำว่าให้ตรวจเช็กดูที่ฝาถังน้ำมันให้เรียบร้อย และลองใช้งานไปในระยะทางประมาณ 5 – 10 กิโลเมตร ไฟเครื่องที่โชว์จะดับหายไปเอง
2. แคทาไลติคคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic converter) ไฟเครื่องโชว์ เร่งไม่ขึ้น
แคทาไลติคคอนเวอร์เตอร์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า แคท ซึ่งมีหน้าที่กรองไอเสียที่ปล่อยจากเครื่องยนต์ไปสู่อากาศข้างนอก เมื่อรถยนต์ใช้งานเป็นระยะเวลานาน ๆ ตัวของแคทาไลติคคอนเวอร์เตอร์ก็จะเสื่อมสภาพเป็นปกติ และถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่จะทำให้ไฟเครื่องโชว์ได้นั้นเอง
3. เซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสีย (O2 sensor) ไฟโชว์เครื่อง
เซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสีย ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ไว้ตรวจสอบคุณภาพไอเสียที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ว่าเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้รึไม่ โดยเซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสียจะทำงานร่วมกับกล่อง ECU เพื่อคำนวณการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้เหมาะสม เมื่อเซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสียเสียขึ้นมานั้น การคำนวนค่าต่าง ๆ อาจผิดเพี้ยนไปจากเดิม เป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์มีอาการที่ผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการกระตุก และรถยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ
4. คอยล์จุดระเบิดและหัวเทียน (Ignition Coil and Spark Plug) ไฟเครื่องโชว์ สตาร์ทไม่ติด
อุปกรณ์ที่จ่ายไฟเพื่อจุดระเบิดภายในเครื่องยนต์อย่างทางคอยล์จุดระเบิดและหัวเทียนมีปัญหา อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพการใช้งาน ซึ่งรถยนต์จะมีการเครื่องเดินไม่เรียบ รถเร่งไม่ออก หรือบางครั้งก็ดับไปเลย โดยต้องทำการเปลี่ยนคอยล์จุดระเบิดและหัวเทียน ใหม่เพียงเท่านั้น ไฟโชว์และอาการต่าง ๆ จะหายไป
5. หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Injector) ไฟเครื่องโชว์ เร่งไม่ขึ้น
หัวใจสำคัญของเครื่องยนต์ก็ว่าได้ สำหรับหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยจะมีลักษณะการฉีดที่เป็นฝอยละเอียด เมื่อหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้ว การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจะไม่สามารถทำได้ดีดั้งเดิม ส่งผลให้รถยนต์ของคุณจะกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าเดิม พร้อมทั้งรอบเดินเครื่องยนต์ไม่นิ่งเป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่
6. เทอร์โมสตัท (Thermostat) ไฟเครื่องโชว์
ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่ถ้าบอกว่าเป็นวาล์วน้ำ น่าจะรู้จักกันอย่างแน่นอน โดยวาล์วน้ำจะมีหน้าควบคุมการไหลของน้ำหล่อเย็นในระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์นั้นเอง ซึ่งจะมีการควบคุมอุณหภูมิว่าจะเปิดวาล์วน้ำไว้ที่อุณหภูมิเท่าไหร่ เมื่อวาล์วน้ำเสียจะสามารถควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ได้นั้นเอง ในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์หากไม่รีบแก้ไข
สุดท้ายนี้แม้รถยนต์ของคุณจะมีไฟเครื่องโชว์แล้วก็ตาม ส่วนใหญ่จะยังสามารถใช้งานได้รถยนต์ได้อยู่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์จะอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์สักเท่าไหร่ จำเป็นต้องรับการแก้ไขให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จะดีกว่า หากปล่อยทิ้งไว้และยังใช้งานรถยนต์ไปเรื่อย ๆ ความเสียหายที่ตามมาอาจจะมากกว่าเดิมก็ว่าได้
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่ https://khaorodnissan.com/