ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ เรียกได้ว่าเป็นสัญญาลักษณ์ที่ใช้สื่อสารให้แก่ผู้ใช้รถยนต์ทราบถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ก็ว่าได้ และเรียกได้ว่าผู้ใช้รถยนต์ควรจะทราบถึงไฟเตือนต่าง ๆ ว่าแต่ละเครื่องหมายที่แสดงขึ้นมานั้น หมายถึงสิ่งไหน
ทั้งนี้ตามปกติของการใช้รถยนต์นั้น หากคุณบิดกุญแจจะสตาร์ทรถยนต์แล้ว ไฟสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่หน้าปัดเรือนไมล์จะแสดงขึ้นเพื่อตรวจเช็กความพร้อมในการใช้งาน ซึ่งรถในแต่ละรุ่นจะมีไฟสัญลักษณ์ไม่เท่ากันเป็นปกติ และเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว สัญญาลักษณ์ไฟต่าง ๆ จะดับหายไปเป็นอัตโนมัติ ยกเว้นแต่รถยนต์กำลังมีปัญหา ไฟสัญลักษณ์จะไม่ดับหายไปแต่อย่างใด
เมื่อรถยนต์ของคุณมีไฟสัญลักษณ์แจ้งเตือนขึ้นมาแล้ว คุณสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ง่าย ๆ เรียกว่าตรวจดูด้วยสายตาก็ว่าได้ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหนักหรือเบานั้นเอง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อย่างไงต้องนำรถยนต์ไปซ่อมที่ศูนย์บริการ ที่อู่ซ่อมรถที่คุณไว้วางใจอยู่
สำหรับไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ถือว่ามีอยู่ 5 รูปแบบที่สำคัญ จำเป็นต้องตรวจเช็กโดยด่วน ได้แก่
ไฟเครื่องโชว์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
สัญลักษณ์หน้าปัดรถสำคัญที่คุณต้องรู้
-
ไฟรูปเครื่องยนต์ (แผงหน้าปัด สัญลักษณ์ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์)
เริ่มกันที่ไฟรูปเครื่องยนต์โชว์ขึ้นมาที่หน้าปัดรถยนต์แล้ว คุณสามารถรับรู้ได้เลยว่าเครื่องยนต์กำลังมีปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งไม่ต้องตื่นตกใจแต่อย่างใด อย่างไงต้องนำรถเข้าไปตรวจเช็กที่ศูนย์บริการ ตลอดจนอู่ซ่อมรถอย่างเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
ทั้งนี้ไฟรูปเครื่องยนต์ขึ้นโชว์ แต่คุณยังสามารถใช้งานรถยนต์ได้อยู่แบบไม่มีปัญหา เนื่องจากจะมีกล่องควบคุม (สมอง) ไปล็อกรอบเครื่องยนต์ไม่ให้คุณใช้งานในรอบสูง เพื่อป้องกันเครื่องยนต์เสียหายนั้นเอง
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
– เซนเซอร์วัดออกซิเจนระบบไอเสียมีปัญหา (O2 sensor)
– Catalytic converter มีปัญหา
– Airflow วัดการไหลของอากาศมีปัญหา
– หัวเทียนหรือสายหัวเทียนมีปัญหา
-
ไฟเตือนเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์ (ไฟเตือนอุณหภูมิ)
หากไฟเตือนเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์แสดงขึ้นแล้วล่ะก็ คุณต้องรีบหยุดใช้งานรถยนต์ให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องดับเครื่องยนต์ทันทีเมื่อจอดรถนิ่งแล้ว เนื่องจากป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากระบบระบายความร้อนที่ไม่ทำงานนั้นเอง แต่หากยังฝืนใช้งานต่อไปแล้วล่ะก็ คุณอาจต้องควักเงินซ่อมรถหลายบาทอย่างแน่นอน
ปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดจากระบบระบายความร้อน (หม้อน้ำ) เป็นจุดเริ่มต้นก็ว่าได้ ซึ่งต้องไปไล่ดูระบบว่าตรงไหนมีปัญหา อาทิเช่น น้ำยาระบายความร้อนที่หายขาด พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน ตลอดจนวาล์วน้ำไม่ทำงาน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะทำให้ระบบไม่สมบูรณ์นั้นเอง และส่งผลทำให้การระบายความร้อนของเครื่องยนต์ลดประสิทธิภาพลง
-
ไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ (แผงหน้าปัด สัญลักษณ์ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์)
สัญญาณที่บ่งบอกว่าระบบไฟฟ้าในรถคุณกำลังมีความผิดปกติ และถือว่าเป็นเรื่องที่จะรีรอชักช้าไม่ได้สักเท่าไหร่ เนื่องจากไฟฟ้าที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่จะถูกใช้ไปจนหมด และเมื่อไฟหมดรถก็ไม่สามารถขับได้ จำเป็นต้องถอดแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟใหม่ เรียกว่าวุ่นวายพอสมควรเลยทีเดียว
อาการไฟเตือนรูปแบตเตอรี่สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาทิเช่น
- ระบบไฟ, ฟิวส์ สายไฟอาจขาด/รั่ว ตลอดจนความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ เช่น วิทยุ
- ไดรชาร์จมีปัญหา อาจต้องไปเช็กดูว่าเกิดจากการเสื่อมสภาพของตัวไดร์ชาร์จ หรือเป็นที่ชุดสายพานก็เป็นได้
-
ไฟเตือนน้ำมันเครื่อง (ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์)
เรียบจอดรถยนต์ให้เร็วที่สุด และต้องดับเครื่องโดยด่วน เมื่อเกิดไฟเตือนน้ำมันเครื่องขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมหากคุณยังฝืนใช้รถต่อ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากน้ำมันเครื่องขาด สามารถอธิบายแบบง่าย ๆ ว่า ไม่มีน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นเครื่องยนต์นั้นเอง สาเหตุอาจเกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง ตลอดจนน้ำมันเครื่องหายก็เป็นได้
-
ไฟเตือนเกี่ยวกับระบบเบรก (ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์)
อันตรายไม่พอสมควร หากคุณยังจะฝืนใช้งานรถยนต์ที่ไฟเตือนเกี่ยวกับระบบเบรกโชว์อยู่ ซึ่งคำแนะนำที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ ต้องหยุดใช้งานรถยนต์ทันที ป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่คาดฝันจากระบบเบรกที่ไม่พร้อมนั้นเอง
ทั้งนี้ไฟเตือนเกี่ยวกับระบบเบรก คุณสามารถตรวจเช็กได้ง่าย ๆ ที่ชุดหม้อลมเบรกภายในห้องเครื่องยนต์นั้นเอง โดยให้ดูน้ำมันเบรกว่าอยู่ในระดับที่ได้กำหนดไว้รึไม่ หากไม่มีให้ไปหาซื้อน้ำมันเบรกมาเติมเพื่อจะสามารถขับรถยนต์ไปซ่อมได้ เนื่องจากระบบของน้ำมันเบรกจะไม่มีการหายไปไหนได้ แต่ถ้าน้ำมันเบรกหายแสดงว่ามีความผิดปกตินั้นเอง
เรียกได้ว่าไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ที่ทางเราได้แนะนำนั้น เป็นไฟเตือนที่มีผลต่อการขับขี่เป็นอย่างมาก ซึ่งต้องรับการตรวจเช็กหาสาเหตุให้เจอเร็วที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่ตามมาจากสภาพของรถยนต์ที่ไม่พร้อมใช้งาน ตลอดจนป้องกันความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้นหากยังฝืนใช้งานรถยนต์โดยที่ไม่ยอมซ่อม
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่ https://khaorodnissan.com/